ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- หม่อน เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก
- ใบหม่อน เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน เส้นใบมี 3 เส้น ออกจากโคนยาวไปถึงกลางใบ และเส้นใบออกจากเส้นกลางใบ 4 คู่ เส้นร่างแหเห็นชัดด้านล่าง ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบสากคาย ก้านใบเล็กเรียว ยาว 1.0-1.5 เซนติเมตร หูใบรูปแถบแคบปลายแหลม ยาว 0.2-0.5 เซนติเมตร
- ดอกหม่อน เป็นช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกเพศผู้ วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง เกสรเพศเมีย วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง ขอบมีขน
- ผลหม่อน จะอวบน้ำ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมี 2 อัน ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานได้ ยอดอ่อนรับประทานได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรส หรือใช้เป็นอาหารต่างผัก พบทั่วไปในป่าดิบ ใบใช้เลี้ยงตัวไหม วัวควายที่กินใบหม่อนทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ ผล เมล็ด เปลือก
สรรพคุณหม่อน :
- ใบ รสจืดเย็น เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำยาต้มใช้อมแก้เจ็บคอ และทำให้เนื้อเยื่อชุ่มชื้น แก้ไอ ระงับประสาท หรือต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง แฉะ ฝ้าฟาง
- ใบแก่ ตากแห้งมวนสูบเหมือนบุหรี่ แก้ริดสีดวงจมูก ใบ แก้ไอ ระงับประสาท หรือต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง แฉะฝ้าฟาง
- ใบ ใช้ทำชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
- ราก ขับพยาธิ และเป็นยาสมาน ตากแห้งต้มผสมน้ำผึ้ง ยานี้จะมีรสหวานเย็น ใช้มากในโรคทางเดินหายใจ และการมีน้ำสะสมในร่างกายผิดปกติ ใช้แก้โรคความดันโลหิตสูง แขนขาหมดความรู้สึก กิ่งอ่อน ใบอ่อน แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ
- ใบ น้ำต้มและยาชง มีฤทธิ์เป็นยาชะล้าง ใช้ล้างตาแก้ตาอักเสบ
- ใบอังไฟและทาด้วยน้ำมันมะพร้าวใช้วางบนแผล หรือตำใช้ทาแก้แมลงกัด เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไอ ยาหล่อลื่นภายนอก น้ำต้มใบใช้กลั้วคอแก้เจ็บคอ ใช้ล้างตา แก้อาการติดเชื้อ ผสมกับหอมหัวใหญ่เป็นยาพอก รักษาแผลจากการนอนกดทับ
- ผล รสเปรี้ยวหวานเย็น ต้มน้ำหรือเชื่อมกิน เป็นยาเย็น ยาระบายอ่อนๆ แก้ธาตุไม่ปกติ บรรเทาอาการกระหายน้ำ แก้โรคปวดข้อ ใช้แก้โรคได้เช่นเดียวกับเปลือกราก ใช้แก้ไข้ แก้เจ็บคอ ทำให้ชุ่มคอ บำรุงไต ดับร้อน ช่วยย่อย และเพื่อความสดชื่น
- เมล็ด ใช้เพิ่มกากใยอาหาร
- เปลือก เป็นยาระบาย และยาถ่ายพยาธิ
ข้อมูลจาก : www.samunpri.com
คลิปวีดีโอประโยชน์ของต้นหม่อน
คลิปรายการ "หม่อน" กับ "เบาหวาน"
คลิปรายการ "หม่อน" กับ "ความดัน"
คลิปรายการ "หม่อน" กับ "คอเลสเตอรอล"
คลิปรายการ "หม่อน" กับ "อนุมูลอิสระ"
คลิปรายการ "หม่อน" กับ "ความเครียด"
_______________________________________________________________________________
คลิปการปลูกต้นหม่อน (มัลเบอรี่)
เทคนิคการโน้มกิ่ง ให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นเป็นเท่าตัว
แนะนำสายพันธุ์หม่อน
เทคนิคการตัดแต่งกิ่งหลังปลูก
เทคนิคการเลี้ยงลำต้นให้สูงเพื่อดัดใช้ทำเป็นซุ้ม
เทคนิคการตัดเพื่อให้แตกยอดเป็นทรงพุ่ม
ต้นหม่อนที่มีอายุได้ 6 เดือน
เทคนิคการทำให้หม่อนออกผล
ระยะเวลาที่หม่อนออกผลจนถึงเก็บเกี่ยว
_______________________________________________________________________________
คลิปเทคนิคการขยายพันธุ์ต้นหม่อน (มัลเบอรี่)
วิธีเลือกกิ่งที่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะชำ
สูตรดินและวัสดุปลูกเพื่อเพาะชำกิ่ง
เทคนิคการชำกิ่ง
บทสรุปของการปลูกตั้งแต่ชำกิ่งไปจนให้ผลิตผลิต
การนำกิ่งตอนลงกระถาง
การนำต้นหม่อนลงดินเพาะปลูก
การปลูก ดูแล ขยายพันธุ์
การตัดแต่งพุ่มหม่อน
วิธีการขยายพันธุ์มัลเบอร์รี่ด้วยการติดตา
วิธีการตอนกิ่งมัลเบอร์รี่ หม่อน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น