ต้นชา (ต้นเมี่ยง)


โดย ผศ. ดร. ธีรพงษ์  เทพกรณ์

         ปัจจุบันมีการค้นพบและมีรายงานทางวิทยาศาสตร์มากมายที่แสดงถึงคุณประโยชน์ของการดื่มชา ทำให้มีผู้คนสนใจหันมาดี่มชากันเพิ่มมากขึ้น  อย่างไรก็ตามความรู้ความเข้าใจในเรื่องชาของคนไทยยังมีไม่มากเท่าที่ควร  ดังนั้นเพื่อเป็นการเผยแพร่เรื่องของชาให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น  ผมจึงขอนำเสนอบทความเชิงวิชาการเกี่ยวกับชา  โดยในบทความนี้จะขอนำท่านผู้อ่านมารู้จักถึงสายพันธุ์ชาที่มีการปลูกทางการค้าของไทย

           “ชา” เป็นไม้ยืนต้น ที่เชื่อกันว่ามีแหล่งกำเนิดมาจากเทือกเขาทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีหลักฐานการค้นพบต้นชาสายพันธุ์ดั้งเดิมหลายสายพันธุ์ที่เป็นพืชพื้นเมืองประจำถิ่นของมณฑลยูนนาน (Yu & Lin, 1987) และแพร่กระจายของแหล่งเพาะปลูกไปยังประเทศทางเอเชียตะวันออกรวมถึงประเทศญี่ปุ่น (Yamaguchi & Tanaka,1995) ชาเมื่อเจริญตามธรรมชาติอาจมีความสูงถึง 10-15 เมตร แต่ในการเพาะปลูกมักตัดแต่งกิ่งให้เป็นพุ่มประมาณ 0.6-1.0 เมตร เพื่อความสะดวกในการเก็บใบชา  ชาเป็นพืชกึ่งร้อนที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตอบอุ่นและมีฝน ปลูกได้ดีที่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 200-2,000 เมตร  การจัดหมวดหมู่อนุกรมวิธานของชา จัดได้ดังนี้
ตารางที่ การจัดหมวดหมู่อนุกรมวิธานของชา


ที่มา: The Integrated Taxonomic Information System (ITIS)

          ชาเป็นพืชในวงศ์ (family)  Theaceae  สกุล (genus) Camellia ที่มีมากกกว่า 300 ชนิด (species)  ชาที่ผลิตทางการค้าส่วนใหญ่มาจาก 2 สายพันธุ์ คือ Camellia sinensis var. sinensis (Chinese tea) และ Camellia sinensis var. assamica (Assam tea  หรือ Indian tea) ชาสายพันธุ์จีนเป็นชาที่ใบมีขนาดเล็ก และแคบ ทนทานต่อสภาพอากาศหนาวเย็นมากกว่าชาสายพันธุ์อัสสัม   การจำแนกสายพันธุ์ชานอกจากพันธุ์ชาทางการค้า 2 กลุ่มหลักที่กล่าวไว้แล้วยังพบสายพันธุ์ลูกผสม (hybrid) ที่เกิดจากการผสมข้ามระห่วางสายพันธุ์ทำให้ได้ชาลูกผสมที่มีลักษณะทางฟีโนไทป์แตกต่างกัน (heterogeneous) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการ การปรับปรุงพันธุ์ชา (tea breeding)  การปรับปรุงพันธุ์ชาทำให้ได้พันธุ์ชามีลักษณะทางกายภาพ ขนาดและลักษณะใบที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งให้รสชาติของน้ำชาที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกัน   นับตั้งแต่สมัยอดีต ประเทศไทยได้ทดลองนำเอาชาสายพันธุ์จีนที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากประเทศไต้หวันเข้ามาปลูกในเขตพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงราย แล้วขยายพันธุ์ พร้อมทั้งเพิ่มพื้นที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง 
ต้นชาประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้
  • ราก   ชาเป็นพืชที่มีรากแก้วและรากฝอย  แต่ไม่มีรากขน  ต้นชาที่ได้จากการปักชำจะไม่มีรากแก้ว  รากชาจะมีการสะสมของคาร์โบไฮเดรตในรูปของแป้ง  การแตกยอดของต้นชาขึ้นอยู่กับอาหารสำรองคาร์โบไฮเดรตในราก

  • ใบ   เป็นใบเดี่ยว  การจัดเรียงของใบเป็นแบบสลับ 1 ใบต่อ 1 ข้อ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ปลายใบแหลม หน้าเป็นมัน  ใต้ใบมีขนอ่อนปกคลุม   ชาสายพันธุ์จีนมีขนาดใบเล็กและหนาว่าสายพันธุ์อัสสัม
  • ดอก   ดอกชาเกิดระหว่างลำต้นกับใบ  มีทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อ (2-4 ดอก)  ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงสีเขียวเข้ม  กลีบดอกมีสีขาว เป็นดอกสมบูรณ์เพศมีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียในดอกเดียวกัน ดอกมีกลิ่นหอม
  • ผล   ผลชามีลักษณะเป็นแคปซูล  เปลือกหนามีสีเขียวอมน้ำตาล  แบ่งเป็น 3 ช่อง   ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.0 ซม. หลังจากผสมเกสรแล้วกลีบดอกและเกสรตัวผู้จะร่วง  เริ่มติดเป็นผล  ผลชาจะแก่เต็มที่เมื่ออายุ 9-12 เดือน  เมื่อผลแก่เต็มที่ผลจะแตก เมล็ดจะร่วงลงดิน
  • เมล็ด   เมล็ดชาจะพบในผลประมาณ 1-3 เมล็ด  มีรูปร่างกลม  มีใบเลี้ยง 2 ใบอวบหนา มีน้ำมันห่อหุ้มต้นอ่อน
  1. กลุ่มชาพันธุ์อัสสัม (Assam Tea)  
  • ลำต้น   เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง-ใหญ่ ผิวลำต้นเรียบ กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนอ่อน ชาในกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นไม้ขนาดใหญ่ ต้นใหญ่สูงประมาณ 6-18 เมตร และมีขนาดใหญ่กว่าชาในกลุ่มชาจีนอย่างเด่นชัด กิ่งที่มีอายุมากจะเปลี่ยนเป็นสีเทา
  • ใบ       มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม การเรียงตัวของใบบนกิ่งเป็นแบบสลับและเวียน (spiral) ใบมีความกว้างประมาณ 3.0-6.0 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7.0-16.0 เซนติเมตร แต่อาจพบใบที่มีขนาดใหญ่กว่าที่กล่าว คือใบมีความกว้าง 5.6-7.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 17.0-22.0 เซนติเมตร ขอบใบมีหยักเป็นฟันเลื่อยเด่นชัด จำนวนหยักฟันเลื่อยเฉลี่ยประมาณ 9 หยัก/ความกว้างของใบ 1.0 นิ้ว ส่วนของก้านใบและด้านท้องใบมีขนอ่อนปกคลุม แผ่นใบมีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม
  • ดอก     เจริญจากตาบริเวณง่ามใบบนกิ่ง ในแต่ละตาประกอบด้วยตาที่เจริญไปเป็นกิ่งใบอยู่ด้านบนของตา ส่วนใหญ่ดอกออกติดกันเป็นกลุ่ม ช่อละประมาณ 2-4 ดอก/ตา ก้านดอกยาวประมาณ 10.0-12.0 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมีจำนวน 5-6 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน มีรูปทรงโค้งมนยาว กลีบดอกติดอยู่กับวง corolla ที่มีลักษณะคล้ายถ้วยหงาย กลีบดอกมีจำนวน 5-6 กลีบ ส่วนโคนกลีบติดกับฐานดอกแคบ ส่วนปลายกลีบบานออก วงเกสรตัวผู้ประกอบด้วยอับละอองเกสรสีเหลืองติดอยู่ที่ส่วนปลายของก้านชูอับละอองเกสรสีขาว ยาวประมาณ 5.0 มิลลิเมตร เกสรตัวเมีย (style) มีลักษณะเป็นก้านกลม ภายในรังไข่แบ่งออกเป็น 1-3 ช่อง ดอกเมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.65 เซนติเมตร
  • ผล      เป็นแคปซูล เมื่อผลแก่เต็มที่เปลือกจะแตกออก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.0-4.0 เซนติเมตร
  • เมล็ด    ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 11.0-12.0 มิลลิเมตร ผิวของเมล็ดเรียบ แข็ง มีสีน้ำตาล หรือ น้ำตาลอมแดง หรือน้ำตาลเข้มเกือบดำ
  1. กลุ่มชาพันธุ์จีน (Chinese Tea)
  • ลำต้น ชาสายพันธุ์จีนมีลักษณะลำต้นเป็นพุ่มเตี้ย  สูงประมาณ 1-6 เมตร  กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนอ่อน กิ่งแก่มีสีเทา
  • ใบ       มีก้านใบสั้น แผ่นใบมีปลายใบโค้งมน บางครั้งอาจพบว่าแผ่นใบค่อนข้างกลม ใบกว้างประมาณ 2.0-3.0 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5.0-10.0 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นรูปโค้งเล็กน้อย ส่วนปลายของหยักฟันเลื่อยมีสีดำ แผ่นใบมีสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม กาบหุ้มใบยาวประมาณ 8.0 มิลลิเมตร ด้านนอกของกาบปกคลุมด้วยขนอ่อน
  • ดอก     มีตาเจริญบริเวณระหว่างง่ามใบกับกิ่ง ในแต่ละตาประกอบด้วยตาที่เจริญไปเป็นกิ่งใบอยู่ด้านบนของตา ส่วนด้านล่าง ประกอบด้วยตาที่เจริญเป็น 1-2 ดอกต่อตา แต่บางครั้งอาจพบว่า มีจำนวนดอกประมาณ 2-7 ดอกต่อตา ก้านและดอกยาวรวมกันประมาณ 12.0-15.0 มิลลิเมตร ส่วนของก้านยาวประมาณ 8.0-10.0 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมีจำนวน 5-6 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน มีรูปทรงโค้งมน ยาวประมาณ 3.0-5.0 มิลลิเมตร กลีบดอกติดอยู่วง corolla ที่มีลักษณะถ้วยหงายตื้นๆ ยาวประมาณ 1.5-2.0 เซนติเมตร กลีบดอกมีจำนวน 7-8 กลีบ ส่วนโคนกลีบติดกับฐานดอกแคบ ส่วนปลายกลีบบานออก กลีบดอกมีความยาวประมาณ 1.0-2.0 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.8-2.3 เซนติเมตร เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ประกอบด้วยอับละอองเกสรสีเหลืองติดอยู่ที่ส่วนปลายของก้านชูอับละอองเกสรสีขาว ยาวประมาณ 8.0-13.0 มิลลิเมตร ส่วนล่างของก้านติดกันเป็นวงกว้างประมาณ 1.0-2.0 มิลลิเมตร  วงของเกสรตัวเมียยาวประมาณ 8.0-12.0 มิลลิเมตร ประกอบด้วยรังไข่ที่ปกคลุมด้วยขน ปากเกสร (style) เป็นก้านกลม ส่วนปลายแบ่งออกเป็น 3 แฉก ภายในรังไข่แบ่งออกเป็น 3 ช่อง
  • ผล      เป็นแคปซูล ขนาดผลมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.0-4.0 เซนติเมตร เมื่อผลแก่เต็มที่เปลือกจะแตกออก
  • เมล็ด    ค่อนข้างกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10.0-14.0 มิลลิเมตร ผิวของเมล็ดเรียบ มีสีน้ำตาล หรือ น้ำตาลอมแดง หรือ น้ำตาลเข้มเกือบดำ

รูปที่ 1 ลักษณะใบชา (A) ดอก (B) ผล (C) และเมล็ดชา (D)

พันธุ์ชาที่ปลูกทางการค้าของไทยโดยทั่วไป แบ่งได้เป็น 2 พันธุ์ใหญ่ ๆ ได้แก่
กลุ่มนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. assamica  สามารถเรียกได้หลายชื่อ เช่น ชาอัสสัม ชาพื้นเมือง  ชาป่า หรือชาเมี่ยง เป็นต้น  ชาอัสสัมเป็นพันธุ์ชาที่ใบใหญ่กว่าชาพันธุ์จีน  เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีในป่าเขตร้อนชื้นที่มีร่มไม้และแสงแดดพอประมาณ       ชาพันธุ์อัสสัมพบมากบนเขตพื้นที่สูงแถบภาคเหนือของไทยในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย น่าน ลำปาง และแพร่ 


รูปที่ 2 ชาพันธุ์อัสสัม และการปลูกชาอัสสัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชาสายพันธุ์อัสสัม (Assam Tea)

กลุ่มนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. sinensis   เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน และจีน เป็นสายพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์อู่หลงเบอร์ 17 หรืออู่หลงก้านอ่อน (Chin Shin Oolong No.17)  อู่หลงเบอร์ 12 (Chin Hsuan Oolong No.12)   พันธุ์สี่ฤดู (Si Ji  หรือ Four Season) พันธุ์ถิกวนอิม (Tieguanyin)  เป็นต้น เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกเนื่องจากให้ผลผลิตสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด ปลูกมากในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน การปลูกจะปลูกเป็นแถวแบบขั้นบันได มีการจัดการแปลงปลูกอย่างเป็นระบบ และตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ชาแตกยอดใหม่และสะดวกต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต  (สายลม และคณะ 2552)
  1. กลุ่มชาพันธุ์จีน (Chinese Tea)
กลุ่มนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. sinensis   เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน และจีน เป็นสายพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์อู่หลงเบอร์ 17 หรืออู่หลงก้านอ่อน (Chin Shin Oolong No.17)  อู่หลงเบอร์ 12 (Chin Hsuan Oolong No.12)   พันธุ์สี่ฤดู (Si Ji  หรือ Four Season) พันธุ์ถิกวนอิม (Tieguanyin)  เป็นต้น เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกเนื่องจากให้ผลผลิตสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด ปลูกมากในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน การปลูกจะปลูกเป็นแถวแบบขั้นบันได มีการจัดการแปลงปลูกอย่างเป็นระบบ และตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ชาแตกยอดใหม่และสะดวกต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต  (สายลม และคณะ 2552)


รูปที่ 3 ชาพันธุ์จีน และการปลูกชาจีน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชาสายพันธุ์จีน (Chinese Tea)
  • ลำต้น ชาสายพันธุ์จีนมีลักษณะลำต้นเป็นพุ่มเตี้ย  สูงประมาณ 1-6 เมตร  กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนอ่อน กิ่งแก่มีสีเทา
  • ใบ       มีก้านใบสั้น แผ่นใบมีปลายใบโค้งมน บางครั้งอาจพบว่าแผ่นใบค่อนข้างกลม ใบกว้างประมาณ 2.0-3.0 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5.0-10.0 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นรูปโค้งเล็กน้อย ส่วนปลายของหยักฟันเลื่อยมีสีดำ แผ่นใบมีสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม กาบหุ้มใบยาวประมาณ 8.0 มิลลิเมตร ด้านนอกของกาบปกคลุมด้วยขนอ่อน
  • ดอก     มีตาเจริญบริเวณระหว่างง่ามใบกับกิ่ง ในแต่ละตาประกอบด้วยตาที่เจริญไปเป็นกิ่งใบอยู่ด้านบนของตา ส่วนด้านล่าง ประกอบด้วยตาที่เจริญเป็น 1-2 ดอกต่อตา แต่บางครั้งอาจพบว่า มีจำนวนดอกประมาณ 2-7 ดอกต่อตา ก้านและดอกยาวรวมกันประมาณ 12.0-15.0 มิลลิเมตร ส่วนของก้านยาวประมาณ 8.0-10.0 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมีจำนวน 5-6 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน มีรูปทรงโค้งมน ยาวประมาณ 3.0-5.0 มิลลิเมตร กลีบดอกติดอยู่วง corolla ที่มีลักษณะถ้วยหงายตื้นๆ ยาวประมาณ 1.5-2.0 เซนติเมตร กลีบดอกมีจำนวน 7-8 กลีบ ส่วนโคนกลีบติดกับฐานดอกแคบ ส่วนปลายกลีบบานออก กลีบดอกมีความยาวประมาณ 1.0-2.0 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.8-2.3 เซนติเมตร เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ประกอบด้วยอับละอองเกสรสีเหลืองติดอยู่ที่ส่วนปลายของก้านชูอับละอองเกสรสีขาว ยาวประมาณ 8.0-13.0 มิลลิเมตร ส่วนล่างของก้านติดกันเป็นวงกว้างประมาณ 1.0-2.0 มิลลิเมตร  วงของเกสรตัวเมียยาวประมาณ 8.0-12.0 มิลลิเมตร ประกอบด้วยรังไข่ที่ปกคลุมด้วยขน ปากเกสร (style) เป็นก้านกลม ส่วนปลายแบ่งออกเป็น 3 แฉก ภายในรังไข่แบ่งออกเป็น 3 ช่อง
  • ผล      เป็นแคปซูล ขนาดผลมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.0-4.0 เซนติเมตร เมื่อผลแก่เต็มที่เปลือกจะแตกออก
  • เมล็ด    ค่อนข้างกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10.0-14.0 มิลลิเมตร ผิวของเมล็ดเรียบ มีสีน้ำตาล หรือ น้ำตาลอมแดง หรือ น้ำตาลเข้มเกือบดำ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นชา

 แหล่งข้อมูล : www.mfu.ac.th

คลิปวีดีโอเกี่ยวกับต้นชา

ตอนที่ 1 "ใบเมี่ยง" กับ "อนุมูลอิสระ"

ตอนที่ 2 "ใบเมี่ยง" กับ "ความเครียด"

ตอนที่ 3 " ใบเมี่ยง " กับ " ไหลเวียนเลือด "

ตอนที่ 4 "ใบเมี่ยง" กับ "เบาหวาน"

ตอนที่ 5 "ใบเมี่ยง" กับ "โรคหัวใจ"


Share on Google Plus

About TheSorawee

Blog บันทึกนี้เป็นที่รวบรวมความรู้ด้านการเกษตรที่ค้นหาได้ตามความสนใจของผู้บันทึก ไม่ขอยืนยันว่าข้อมูลที่บันทึกและรวบรวมไว้มีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตร แต่เป็นผู้ที่สนใจอยากเข้ามาเรียนรู้และอยากมีโอกาสได้ลงมือทำเท่านั้น หากจะให้นิยามของ BLOG นี้ว่าคืออะไร เราก็อยากจะนิยามของความรู้ด้านเกษตรใน BLOG คือ "เกษตรทฤษฎี copy_paste" อย่าได้เชื่ออะไรจนกว่าท่านจะได้พิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง ดังนั้น ผู้บันทึกเองยินดีรับคำชี้แนะทุกสถานหากท่านจะเมตตาชี้แนะ แต่หากข้อมูลที่บันทึกทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ หรือจะเป็นแรงบันดาลใจของท่านใดให้ลงมือทำแบบจริงจัง ก็อย่าลืมแวะมาเล่าให้เราได้ฟังบ้างนะครับ ขอบคุณครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น