ตะไคร้


ชื่ออื่น :  จะไคร้(ภาคเหนือ), ไคร(ภาคใต้), คาหอม(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ห่อวอตะไป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หัวสิงโต(เขมร-ปราจีนบุรี), ตะไคร้แกง(ทั่วไป)
ชื่อสามัญ :   Lemon Grass, Lapine
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cymbopogon citratus  Stapf.
ชื่อวงศ์ :   Poaceae (Gramineae)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ตะไคร้ เป็นพรรณไม้ล้มลุก จะขึ้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก แข็ง เกลี้ยง และตามปล้องมักมีไขปกคลุมอยู่ เป็นพรรณไม้ที่มีอายุหลายปี
  • ใบตะไคร้ ใบเดี่ยว แตกใบออกเป็นกอ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม และผิวใบจะสากมือทั้งสองด้าน เส้นกลางใบแข็ง ขอบใบจะมีขนขึ้นอยู่เล็กน้อย มีสีเขียวกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 2-3 ฟุต
  • ดอกตะไคร้ ออกเป็นช่อกระจาย ช่อดอกย่อยมีก้านออกเป็นคู่ ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ
ส่วนที่ใช้เป็นยา :
  • ทั้งต้น  เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บไว้ใช้
  • ราก  เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สด ใบสด

สรรพคุณตะไคร้ :

  • ทั้งต้น รสฉุน สุมขุม แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงไฟธาตุ ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด
  • ราก แก้เสียดแน่น แสบบริเวณหน้าอก ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะ บำรุงไฟธาตุ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ รักษาเกลื้อน แก้อาการขัดเบา
  • ใบสด ช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
  • ต้น เป็นยาขับลม แก้ผมแตกปลาย เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ แก้หนองใน
ข้อมูลจาก : www.samunpri.com

--------------------------------------

คลิปวิดีโอเกี่ยวกับ"ตะไคร้"


ประโยชน์ของตะไคร้เป็นสมุนไพร


การปลูกตะไคร้ ตอน 1


การปลูกตะไคร้ ตอน 2
Share on Google Plus

About TheSorawee

Blog บันทึกนี้เป็นที่รวบรวมความรู้ด้านการเกษตรที่ค้นหาได้ตามความสนใจของผู้บันทึก ไม่ขอยืนยันว่าข้อมูลที่บันทึกและรวบรวมไว้มีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตร แต่เป็นผู้ที่สนใจอยากเข้ามาเรียนรู้และอยากมีโอกาสได้ลงมือทำเท่านั้น หากจะให้นิยามของ BLOG นี้ว่าคืออะไร เราก็อยากจะนิยามของความรู้ด้านเกษตรใน BLOG คือ "เกษตรทฤษฎี copy_paste" อย่าได้เชื่ออะไรจนกว่าท่านจะได้พิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง ดังนั้น ผู้บันทึกเองยินดีรับคำชี้แนะทุกสถานหากท่านจะเมตตาชี้แนะ แต่หากข้อมูลที่บันทึกทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ หรือจะเป็นแรงบันดาลใจของท่านใดให้ลงมือทำแบบจริงจัง ก็อย่าลืมแวะมาเล่าให้เราได้ฟังบ้างนะครับ ขอบคุณครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น